วิธีใช้งาน Ultimate - Personal Finance Planner (4/4)

หรือ คลิกที่นี่ เพื่อเปิดคลิปผ่าน Youtube

วิธีใช้งานทั้งหมดจะแบ่งเป็น 4 Part นะคะ ในบทความนี้เป็น Part 4/4 จะแนะนำเกี่ยวกับ ‘วิธีดูผลลัพธ์จากการตั้งค่าและการบันทึก’ ของเทมเพลตนี้ค่ะ

เลือกดูตามหัวข้อเรื่อง : 

หากต้องการดูวิธีใช้งาน Part อื่นๆ สามารถคลิกที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ 😊

หน้าภาพรวม

คลิกที่แท็บภาพรวม

ในหน้านี้จะคำนวณอัตโนมัติ จากข้อมูลการวางแผนรายเดือนและการบันทึกธุรกรรมรายวัน จึงไม่ต้องกรอกข้อมูลใดๆ เพิ่มค่ะ

ส่วนที่ 1 : ภาพรวมยอดเงินคงเหลือปัจจุบัน

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

  • แสดงวันล่าสุดที่อัปเดทข้อมูลในหน้าธุรกรรมรายวัน ถ้าไม่ได้บันทึกรายรับ-รายจ่ายทุกวัน ก็จะทราบได้ว่าบันทึกล่าสุดถึงวันที่เท่าไหร่ค่ะ
  • ถัดมา เป็นยอดเงินคงเหลือรวมทุกบัญชี พร้อมตารางแสดงยอดเงินคงเหลือของแต่ละบัญชีที่ใช้รับเงิน-จ่ายเงิน ทั้งบัญชีธนาคารหรือเงินสด บัญชีเงินสะสม และบัญชีสินเชื่อ

ส่วนที่ 2 : ภาพรวมรายรับและค่าใช้จ่ายรายเดือน

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

  • เลือกปี และ เลือกเดือน ที่ต้องการดูภาพรวมรายรับและค่าใช้จ่าย หรือถ้าเลือกคำว่า ‘รวมทั้งปี’ จะแสดงยอดรวมของทุกเดือนในปีที่เลือก
  • แผนภูมิเปรียบเทียบ ‘ค่าใช้จ่ายที่วางแผน’ กับ ‘รายรับที่ได้รับจริง’
    • เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าเมื่อมีรายรับจริง ถ้ายังใช้เงินตามแผนที่กำหนดไว้ทุกอย่าง จะมีเงิน เหลือ หรือ ขาด กี่บาท ที่ต้องเปรียบเทียบในส่วนนี้ด้วยเพราะอาจจะมีรายรับจริงมากกว่ารายรับที่วางแผนไว้ หรือน้อยกว่าที่วางแผนไว้ก็ได้ค่ะ
  • ตารางแสดงผลรวมของรายรับ และ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามประเภท 
    • แสดงข้อมูลของทั้งการวางแผน และ การใช้จริง เพื่อเปรียบเทียบกันค่ะ
    • พร้อมกับสัดส่วน % ของค่าใช้จ่ายเทียบกับรายรับ
      • โดยสัดส่วน % จะช่วยควบคุมไม่ให้ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป หรือเงินสะสมน้อยเกินไป โดยอาจกำหนดเกณฑ์ % คร่าวๆ ไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะกำหนดแบบไหน เพราะมีรายรับไม่เท่ากัน ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันค่ะ
      • สามารถตั้งเป้าได้ตามความเหมาะสมของตัวเอง เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าจะไม่ให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เกิน 30% และเงินสะสมจะต้องไม่น้อยกว่า 5%
    • ช่องเงินคงเหลือ ในส่วนของการวางแผน ควรเหลือมากกว่า 0 บาท ถ้ายอดเงินติดลบ จะทำให้ทราบได้ว่าเดือนนั้นเงินอาจจะไม่พอจ่าย แนะนำให้ปรับแผนลดค่าใช้จ่าย หรือ วางแผนหารายได้เพิ่ม
    • ช่องเงินคงเหลือ ในส่วนของการใช้จริง หากมียอดเงินเหลือมากกว่า 0 บาท เทมเพลตจะนำยอดเงินนี้ ยกไปเป็นรายรับของเดือนถัดไปให้อัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องบันทึกเองค่ะ
  • ตารางเปรียบเทียบ ‘ยอดเงินที่วางแผน’ กับ ‘ยอดเงินใช้จริง’ ของรายรับและค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ 
    • พร้อมแถบบาร์ดูภาพรวมว่ายอดรับจริงหรือใช้จริง ใกล้ถึงเป้าหมายที่วางแผนไว้มากน้อยแค่ไหนค่ะ 
    • โดยมีตัวเลือกประเภทรายการที่ต้องการดูรายละเอียดในตาราง 3 ตัวเลือก :
      • รายรับ 
      • ค่าใช้จ่ายและหนี้สิน
      • เงินสะสม
    • ถ้าใช้จ่ายเกินงบที่วางแผนไว้ หรือ ยังมีรายรับไม่ถึงเป้าหมาย :
      • ยอดเงินจะติดลบ และ เป็นสีแดง

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

  • ตารางเปรียบเทียบ ‘ยอดค่าใช้จ่ายที่วางแผน’ กับ ‘การจ่ายจริง’ ในแต่ละวัน
    • โดยมี 2 ตัวเลือก คือ
      1. ตัวเลือก “มีกำหนดชำระ” ในตารางจะแสดงยอดค่าใช้จ่ายที่มีบิล หรือมีวันครบกำหนดชำระ
      2. ตัวเลือก “ไม่มีกำหนดชำระ” ในตารางจะแสดงยอดค่าใช้จ่ายทั่วไปในแต่ละวัน หากเลือกตัวเลือกนี้ :
        • ยอดเงินในช่องงบประมาณ มาจากการนำค่าใช้จ่ายที่ไม่มีวันครบกำหนดทั้งหมดในหน้าวางแผน มาหารเฉลี่ยต่อวัน เพื่อวางแผนว่าในแต่ละวันควรจ่ายเงินไม่เกินกี่บาท
        • ยอดเงินในช่องใช้จริง มาจากค่าใช้จ่ายที่ไม่มีวันครบกำหนด ที่เกิดขึ้นจริงในหน้าธุรกรรมรายวัน
    • พร้อมแถบบาร์ดูภาพรวมว่า ยอดจ่ายจริงใกล้ถึงเป้าหมายที่วางแผนไว้มากน้อยแค่ไหนค่ะ
    • จากในรูปตัวอย่าง
      • กรณีเลือกประเภท ‘ไม่มีกำหนดชำระ’ สรุปได้ว่า :
        • เมื่อวางแผนค่าใช้จ่ายทั่วไป (ไม่รวมบิลหรือค่าใช้จ่ายที่มีวันกำหนดชำระ) ผลคือ ควรจ่ายไม่เกินวันละ 259 บาท แต่ในวันที่ 3 มีการจ่ายจริง ทั้งหมด 500 บาท ซึ่งเกินงบไป 241 บาท
      • กรณีเลือกประเภท ‘มีกำหนดชำระ’ สรุปได้ว่า :
        • เมื่อวางแผนค่าใช้จ่ายที่มีกำหนดชำระ มีบิลที่ต้องจ่ายในวันที่ 3 ทั้งหมด 2,500 บาท แต่เมื่อถึงวันที่ 3 จริง มีการจ่ายบิลทั้งหมด 2,000 บาท ซึ่งเหลืองบที่ยังจ่ายได้อีก 500 บาทค่ะ
  • ตารางสรุปยอดเงินที่ได้รับและใช้จ่ายในแต่ละบัญชี ของปีและเดือนที่เลือกไว้ 
    • สามารถเลือกที่ตัวเลือกได้ว่า จะให้ตารางแสดงยอดเงินของ ‘การรับเงิน’ หรือ ‘การจ่ายเงิน’ ค่ะ

หน้าแผนชำระหนี้เพื่อปิดยอด

คลิกที่แท็บแผนชำระหนี้เพื่อปิดยอด 

ในหน้านี้จะคำนวณอัตโนมัติจากข้อมูลหน้าตั้งค่า (1) และการบันทึกชำระหนี้ในหน้าธุรกรรมรายวัน จึงไม่ต้องกรอกข้อมูลใดๆ เพิ่มค่ะ

ส่วนที่ 1 : ภาพรวมของหนี้สินที่ต้องการปิดยอด

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

ในส่วนนี้สามารถดูภาพรวมของหนี้สินตามตัวเลือกได้เลยนะคะ เพื่อใช้ตัดสินใจเลือกหนี้สินที่ต้องการจะปิดยอดก่อน

โดยอาจจะเลือกปิดก้อนที่จ่ายต่อเดือนมากที่สุดก่อน หรือเลือกก้อนที่เปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยต่อปีสูงที่สุดก่อนก็ได้ค่ะ แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน

โดยตัวเลือกจะมี 3 แบบคือ :

  1. เรียงตามยอดชำระต่องวด
  2. เรียงตามยอดหนี้คงเหลือ ณ สิ้นเดือนปัจจุบัน
  3. เรียงตามเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยต่อปี

ส่วนที่ 2 : สำหรับดูยอดหนี้สินที่ต้องชำระล่วงหน้า

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

ในส่วนนี้ สามารถเลือกปี และเลือกเดือน ที่ต้องการดูยอดชำระล่วงหน้าได้

  • ยอดที่ต้องชำระ ให้ดูที่คอลัมน์ ‘เหลือต้องชำระให้ถึงขั้นต่ำ’ เมื่อบันทึกชำระหนี้ในหน้าธุรกรรมรายวันครบแล้ว ยอดเงินจะกลายเป็น 0 บาทค่ะ

และสามารถดูรายละเอียดของหนี้สินที่ต้องการปิดยอดแต่ละก้อนได้ :

  1. คลิกที่เครื่องหมาย ‘ > ‘ หลังชื่อหนี้สิน จะมีลิงก์แสดงขึ้นมา
  2. คลิกที่ลิงก์เพื่อดูตารางรายละเอียด

ในตารางแผนการชำระหนี้สินแต่ละก้อนจะแสดง ประกอบด้วย :

    • เงินต้น
    • ยอดดอกเบี้ย
    • ยอดชำระที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
    • เงินต้นคงเหลือ ณ สิ้นเดือน
  • จะมี ‘เครื่องหมายติ๊กถูก’ ขึ้นมาอัตโนมัติ เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว และเดือนนั้นได้ผ่านไป
  • แต่จะมี ‘เครื่องหมายกากบาท’ ขึ้นมาอัตโนมัติ เมื่อไม่ได้ชำระเงิน แต่เดือนนั้นได้ผ่านไปแล้ว

หากไม่ได้ชำระหนี้สินภายในเดือนตามแผนคำนวณ ยอดเงินที่ควรชำระในเดือนนั้นๆ จะเลื่อนเป็นเดือนถัดไป ซึ่งอาจทำให้เดือนสุดท้ายของการจ่ายหนี้ก้อนนั้นไม่ตรงกับที่แผนที่ได้คำนวณในตอนแรกค่ะ

หากต้องการดูวิธีใช้งาน Part อื่นๆ สามารถคลิกที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ 😊