วิธีใช้งาน Ultimate - Personal Finance Planner (3/4)

หรือ คลิกที่นี่ เพื่อเปิดคลิปผ่าน Youtube

วิธีใช้งานทั้งหมดจะแบ่งเป็น 4 Part นะคะ ในบทความนี้เป็น Part 3/4 จะแนะนำเกี่ยวกับ ‘วิธีวางแผนรายเดือนและการบันทึกรายรับ-รายจ่าย’ ของเทมเพลตนี้ค่ะ

เลือกดูตามหัวข้อเรื่อง : 

หากต้องการดูวิธีใช้งาน Part อื่นๆ สามารถคลิกที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ 😊

หน้าวางแผน

คลิกที่แท็บวางแผน

ส่วนที่ 1 : ตารางสรุปค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนดชำระ

ในส่วนนี้จะคำนวณผลแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องกรอกข้อมูลใดๆ

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

สามารถดูรายการค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนดชำระได้ (ซึ่งข้อมูลที่ใช้คำนวณจะมาจากการวางแผนรายเดือน) 

โดยมีเงื่อนไขให้เลือก 3 แบบ คือ

  1. ค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนดชำระวันนี้
  2. ค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนดชำระสัปดาห์นี้
  3. ค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนดชำระเดือนนี้

ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนด และบันทึกจ่ายในหน้าธุรกรรมรายวันแล้ว จะมีเครื่องหมายติ๊กถูกแสดงหน้ารายการนั้นให้อัตโนมัติค่ะ

ส่วนที่ 2 : ตารางวางแผนรายรับและค่าใช้จ่ายรายเดือน จะแบ่งเป็น 3 ตาราง

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

ตารางที่ 1 : สำหรับวางแผนรายรับ

  1. เลือกปีและเดือนที่ต้องการวางแผน
  2. เลือกชื่อรายรับ ซึ่งตัวเลือกมาจากข้อมูลที่กำหนดไว้ในหน้าตั้งค่า 2
    • นอกจากนี้ Template จะสร้างตัวเลือก ‘(เบิกเงิน) ตามด้วยชื่อบัญชีสินเชื่อ หรือ บัญชีเงินสะสม’ ให้อัตโนมัติ สำหรับใช้ในกรณีที่รายรับมาจากการถอนเงินออกจากบัญชีสินเชื่อหรือเงินสะสม เข้าบัญชีธนาคาร/บัญชีเงินสดค่ะ
  3. หลังจากเลือกชื่อรายรับ ในช่อง’ยอดรับจริงเดือนที่แล้ว’ จะแสดงยอดเงินแนะนำขึ้นมาอัตโนมัติเพื่อให้การวางแผนแม่นยำมากขึ้น ซึ่งตัวเลขมาจากยอดรายรับจริงของเดือนที่แล้ว ที่บันทึกในหน้าธุรกรรมรายวัน ถ้าไม่มีข้อมูลจะแสดงเป็นยอด 0 บาท
  4. กรอกจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับ

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

ตารางที่ 2 : สำหรับวางแผนค่าใช้จ่าย หนี้สินอื่นๆ และเงินสะสม

  1. เลือกปีและเดือนที่ต้องการวางแผน
  2. เลือกชื่อค่าใช้จ่าย หนี้สินอื่นๆ หรือเงินสะสม ซึ่งเป็นข้อมูลที่กำหนดไว้ในหน้าตั้งค่า (2)
  3. หลังจากเลือกชื่อค่าใช้จ่าย ในช่อง’ยอดใช้จริงเดือนที่แล้ว’ จะแสดงยอดเงินแนะนำขึ้นมาอัตโนมัติเพื่อให้การวางแผนแม่นยำมากขึ้น ซึ่งตัวเลขมาจากยอดใช้จ่ายจริงของเดือนที่แล้ว ที่บันทึกในหน้าธุรกรรมรายวัน ถ้าไม่มีข้อมูลจะแสดงเป็นยอด 0 บาท
  4. กรอกจำนวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่าย
  5. หากค่าใช้จ่าย หนี้สินอื่นๆ หรือเงินสะสมใด ที่เป็นบิลรายเดือนหรือมีกำหนดจ่าย ให้ระบุวันที่ในช่อง ‘กำหนดชำระวันที่’ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับตารางสรุปค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนดชำระค่ะ

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

ตารางที่ 3 : สำหรับวางแผนหนี้สินที่ต้องการปิดยอด 

จะคล้ายกับตารางที่ 2 นะคะ แต่เป็นการวางแผน ‘หนี้สินที่ต้องการปิดยอด’ โดยเฉพาะ

  1. เลือกปีและเดือนที่ต้องการวางแผน
  2. เลือกชื่อหนี้สินที่ต้องการปิดยอด ซึ่งเป็นข้อมูลที่กำหนดไว้ในหน้าตั้งค่า (1)
  3. หลังจากเลือกชื่อหนี้สิน ในช่อง’แนะนำ’ จะแสดงยอดเงินขึ้นมาอัตโนมัติ เพื่อให้การวางแผนแม่นยำมากขึ้น ซึ่งตัวเลขมาจากการคำนวณแผนชำระหนี้ในแต่ละเดือน ถ้าไม่มีข้อมูลจะแสดงเป็นยอด 0 บาท
  4. กรอกจำนวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่าย 
  5. ระบุวันที่ ที่ครบกำหนดจ่าย ในช่อง ‘กำหนดชำระวันที่’ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับตารางสรุปค่าใช้จ่ายที่ครบกำหนดชำระค่ะ

หน้าธุรกรรมรายวัน

คลิกที่แท็บธุรกรรมรายวัน

ส่วนที่ 1 : ตารางสรุปธุรกรรมตามวันที่เลือก

(คำนวณผลแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องกรอกข้อมูลใดๆ)

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

เป็นตารางสรุปยอดรวมของรายรับ ค่าใช้จ่าย หนี้สิน และเงินสะสม พร้อมแสดงรายการและยอดเงินที่ใช้จริง ซึ่งจะแสดงผลอัตโนมัติตามวันที่เลือก (ซึ่งข้อมูลที่ใช้คำนวณจะมาจากการบันทึกรายรับและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) 

  • หากต้องการดูสรุปธุรกรรมย้อนหลังที่เกิดขึ้นในวันใด สามารถคลิกเลือกวันที่ตามในรูปตัวอย่างได้เลยค่ะ

ส่วนที่ 2 : ตารางบันทึกรายรับและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

(เลื่อนเพื่อดูรูปภาพ)

  1. คลิกในช่องวันที่ เพื่อเลือกวัน เดือน ปี
  2. เลือกชื่อรายรับหรือค่าใช้จ่าย ซึ่งตัวเลือกเป็นข้อมูลที่กำหนดไว้ในหน้าตั้งค่า (1) และ ตั้งค่า (2)
    • ตามที่กล่าวไปในวิธีการวางแผนว่า Template จะสร้างตัวเลือก ‘(เบิกเงิน) ตามด้วยบัญชีสินเชื่อ หรือ บัญชีเงินสะสม’ ให้อัตโนมัติ สำหรับใช้ในกรณีที่รายรับมาจากการถอนเงินออกจากบัญชีสินเชื่อหรือเงินสะสม เข้าบัญชีธนาคาร/บัญชีเงินสด
    • แต่ถ้าเป็นการจ่ายด้วยบัญชีสินเชื่อหรือบัญชีเงินสะสมโดยตรง สามารถเลือกชื่อค่าใช้จ่าย และเลือกช่องทางการจ่ายเงินเป็นบัญชีเงินสะสมหรือบัญชีสินเชื่อ ได้ตามปกติค่ะ
  3. หลังจากเลือกชื่อรายการแล้ว :
    • จะแสดงคำว่า ‘เงินเข้าบัญชี’ อัตโนมัติ ถ้ารายการนั้นเป็นรายรับ 
    • จะแสดงคำว่า ‘จ่ายด้วยบัญชี’ อัตโนมัติ ถ้ารายการนั้นเป็นค่าใช้จ่าย เงินสะสม หรือหนี้สินค่ะ
  4. เลือกบัญชีที่รับเงินหรือจ่ายเงิน
  5. กรอกจำนวนเงินตามความเป็นจริง
  6. ในกรณีที่ชื่อค่าใช้จ่ายนั้นเป็นรายการหนี้สินที่หมุนเวียนได้ :
    • ในช่อง ดอกเบี้ย หรือ Fee จะเปลี่ยนจากสีม่วง เป็นสีขาวให้อัตโนมัติ เพื่อให้กรอกยอดดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีให้ใส่เลข 0
    • หลังจากนั้น Template จะนำยอดดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมนี้ ไปหักลบกับยอดชำระที่ได้บันทึกไว้แบบอัตโนมัติ จนได้เป็นยอดเงินที่เหลืออยู่จริงในบัญชีสินเชื่อนั้นๆ ค่ะ
  7. หากมีรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโน้ตได้ที่ช่อง Note

หากต้องการดูวิธีใช้งาน Part อื่นๆ สามารถคลิกที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ 😊